นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง



นโยบายการเงิน (Monetary Policy)ความหมาย คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน3 ด้านดังนี้1. การลด เพิ่มปริมาณเงินในระบบ

2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (หรือเรียกว่า ด/บ นโยบาย หรือ ด/บ มาตรฐาน)

3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ

การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายทาง ศก. ที่เราต้องการดังนี้

1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth)

2.เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Eco Stability)

3.เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Eco Eavity) หรือ การกระจายรายได้อย่างยุติธรรม

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางการเงิน คือ Bank ชาติ หรือ ธนาคารกลาง หรือ ธปท.

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องทางการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้

1.การใช้มาตรการเพิ่ม ลด ภาษี

2.การเพิ่ม ลด การก่อหนี้สาธารณะ

3.รายจ่ายสาธารณะ (รัฐบาลสามารถเพิ่ม ลด รายจ่ายประจำปี)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ต้องการ

เพื่อให้ ศก. เจริญเติบโต (Eco.Growth)

เพื่อให้ ศก. มีเสถียรภาพ (Eco.Stabitity)

เพื่อให้ ศก. มีความเสมอภาค (Eco.Equity)

ผู้ดูแลกระทรวงการคลัง คือ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านสภา ตราเป็น พรบ. รายจ่ายประจำปี

กระการคลัง และสำนักงบประมาณ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติ

คำถาม อ.ทำไมงบประมาณจะต้องผ่าน พรบ.? เพราะในหลักประชาธิปไตย ผู้เสียภาษีทุก

คนจะต้องมีตัวแทน ในรัฐสภา

Note

ในปัจจุบันนโยบายการเงินนโยบายการคลัง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทางศก.

เป็นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันยังมี เป้าหมายทางสังคมด้วย คือ ทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข และคุณภาพชีวิต

ที่ดีขึ้น การทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นด้วย

การผลิตและต้นทุนการผลิต


ต้นทุนการผลิต ( Cost of Production ) Top
( Cost ) คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องการจ่ายให้เป็นผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิต ทุกชนิดที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต
ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นTop
การผลิตระยะสั้นจะมีการใช้ทั้งปัจจัยคงที่ ( Fixed Factors ) และปัจจัยผันแปร ( Variable Factors ) ดังนั้นต้นทุนจะมีทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร

ต้นทุนคงที่ ( Fixed Cost )Top
ต้นทุนคงที่ ( Fixed Cost ) คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับปัจจัยคงที่ทั้งหมดที่ใช้ไปในการผลิต ต้นทุนคงที่ทั้งหมด ( Total Fixed Cost , TFC ) จะมีค่าคงที่ไม่ว่าจะผลิตหรือไม่ก็ตาม หรือไม่ว่าจะผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นมากมายเท่าใดก็ตาม เพราะปัจจัยคงที่จะไม่มีการเปลี่ยนจำนวนการใช้ ตลอดระยะเวลาการผลิตที่ถูกพิจารณา

ต้นทุนผันแปรทั้งหมด ( Total Variable Cost , TVC )Top
ต้นทุนผันแปรทั้งหมด ( Total Variable Cost , TVC ) คือ ผลรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยผันแปรที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งคำนวณหาค่า TVC แสดงได้ดังสูตร ดังนี้

TVC = Px ( X )

โดยที่ Px คือ ราคาต่อหน่วยของปัจจัยผันแปร
X คือ จำนวนปัจจัยผันแปรที่ใช้

ต้นทุนทั้งหมด ( Total Cost , TC ) Top
ต้นทุนทั้งหมด ( Total Cost , TC ) คือ ผลรวมของต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปร ในแต่ละระดับของการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งสรุปได้ว่า

TC = TFC + TVC

หรือ TC = TFC + Px ( X )

ต้นทุนคงที่เฉลี่ย ( Average Fixed Cost , AFC )Top
ต้นทุนคงที่เฉลี่ย ( Average Fixed Cost , AFC ) คือ ต้นทุนทั้งหมดคิดเฉลี่ยต่อ หน่วยของผลการผลิต ต้นทุนคงที่เฉลี่ยจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อผลิตสินค้ามากขึ้น แต่อย่างไรต้องเสียมากกว่า 0 เพราะการผลิตระยะสั้นต้องมีการใช้ปัจจัยคงที่ซึ่งสามารถ แสดงได้ดังสูตร

AFC = TFC
Y

ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย ( Average Variable Cost , AVC )Top
ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย ( Average Variable Cost , AVC ) คือ ต้นทุนผันแปรทั้งหมดที่คิดเฉลี่ยต่อหน่วยของผลผลิต ต้นทุนที่ผันแปรโดยเฉลี่ยจะมีค่าลดลงในตอนแรก เพราะในตอนแรกของผลผลิตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นในตอนหลังเพราะผลผลิตเฉลี่ยลดลงซึ่งแสดงได้ดังสูตร

AVC = TVC = Px (X)
Y                      Y

หรือ    AVC = Px เพราะ      X คือ       1 นั่นเอง
AP                     Y                AP

ต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด ( Average Cost , AC )Top
ต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด ( Average Cost , AC ) คือ ต้นทุนทั้งหมดคิดเฉลี่ยต่อหน่วยของผลผลิต เส้น AC ก็คล้ายกับเส้น AVC เพียงแต่จุดต่ำสุดของ AC จะอยู่ถัดไปขวาของ AVC , AC สามารถคำนวณได้จากสูตร

AC  =         TC หรือ AC  =  AFC + AVC     นั้นเอง
Y

ต้นทุนหน่วยสุดท้าย หรือ ต้นทุนเพิ่ม ( Marginal Cost , MC )Top
ต้นทุนหน่วยสุดท้าย หรือ ต้นทุนเพิ่ม ( Marginal Cost , MC ) คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มการผลิตขึ้นอีกหนึ่งส่วน เส้น MC จะมีลักษณะลดลงในตอนแรก แต่จะเพิ่มขึ้นในตอนหลัง ( เมื่อเพิ่มการผลิตมากขึ้น ) ซึ่งสามารถ พิจารณาได้จากสูตร

MC       =     TC
Y
MC       =      TVC
Y
MC       =        Px X
Y
ดังนั้น    MC       =        PX เพราะ      X =      1
MP                      Y              MP

ต้นทุนในระยะยาวTop
ต้นทุนระยะยาวจะมีเฉพาะต้นทุนประเภทผันแปร ( Aariable Cost ) เท่านั้นเพราะในระยะยาวของการผลิตจะมีการใช้ปัจจัยต่างๆ โดยที่ปัจจัยเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยผันแปรซึ่ง การคำนวณที่คล้ายกันกับการพิจารณาต้นทุนระยะสั้น

ต้นทุนทางบัญชี ( Accounting Cost )Top
ต้นทุนทางบัญชี ( Accounting Cost ) คือ ต้นทุน หรือค่าใช่จ่าย จริง ๆ ในการดำเนินกิจกรรม และเป็นรายการที่บันทึกไว้ในบัญชี รายจ่ายของกิจการ เท่านั้น

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ( Economic Cost )Top
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ( Economic Cost ) คือ ต้นทุนหรือค่าใช่จ่ายจริง ในการดำเนินกิจกรรม และเป็นรายการที่ลงบันทึกไว้ในบัญชีรายจ่ายของกิจการ ตลอดจนรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้บันทึกลงในบัญชีรายจ่ายด้วยเนื่องจาก เน้นปัจจัยของเจ้าของธุรกิจ จึงมองดูเหมือนไม่ใช่ต้นทุน เพราะไม่มีการจ่ายออกไปจริง จึงต้องใช้หลักการเดียวกับ การคิดต้นทุนค่าเสียโอกาส ในการประเมินค่าต้นทุน
ทฤษฏีว่าด้วยการผลิตภาพส่วนเพิ่ม ( Marginal Productivity Theory ) Top
ทฤษฏีว่าด้วยการผลิตภาพส่วนเพิ่ม อธิบายไว้ว่า “ ผู้ผลิตจะมีกำไรสูงสุดจากการใช้ปัจจัยผันแปรชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ต่อเมื่อผู้ผลิตใช้ปัจจัยชนิดนั้นจนกระทั่ง ถึงหน่วยสุดท้ายหน่วยหนึ่งที่ค่าใช่จ่ายเพิ่มจากการใช้ปัจจัยหน่วยนั้น ( Marginal Factor Cost หรือ MFC ) จะเท่ากับรายได้ที่ได้รับเพิ่มมากขึ้นจากการใช้ปัจจัย ดังกล่าว เพิ่มขึ้น ( Marginal Revenue Product หรือ MRP ) จะเท่ากับ Valve of Marginal Product , VMP ซึ่งการวิเคราะห์ภายใต้ทฤษฎีนี้ ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ เป็นการวิเคราะห์ในสภาพตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์ คือ ราคาผลผลิต ( Py1 ) จะคงที่ และ Px คงที่ นั้นหมายความว่าตราบใดที่การใช้ปัจจัยผันแปรทำให้ VMP สูงกว่า MFC หรือ Px แล้วผู้ผลิตก็ยังสามารถเพิ่มการใช้ปัจจัยผันแปรชนิดนั้นขึ้นไปได้เรื่อย ๆ จนกระทั่ง VMP เท่ากับ MFC หรือ Px หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ผลิตจะได้กำไรสูงสุดจากการใช้ปัจจัยผันแปร เมื่อ

ในกรณีที่ตลาดปัจจัยการผลิตเป็นตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ MFC จะไม่เท่ากับ ราคาของปัจจัยผันแปร หรือ Px ส่วนข้อมูลที่ต้องการในเรื่องราคาของผลผลิต ก็เพื่อนำมาคำนวณ รายได้ส่วนเพิ่มจากการใช้ปัจจัยการผลิต ( Marginal Revency Product , MRP )
MRP คือ รายได้รวมของผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อผู้ผลิตเพิ่มการใช้ปัจจัยผันแปรเข้าสู่กระบวนการผลิตอีก 1 หน่วย

ถ้าตลาดผลผลิตเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ Py จะคงที่ นั้นหมายถึง MRP จะเท่ากับ VMP ซึ่ง VMP เท่ากับราคาของผลผลิต ( Py ) คูณด้วยผลผลิตเพิ่ม ( MP) นั่นเอง ซึ่งแสดงวิธีการพิสูจน์ได้ดังต่อไปนี้